
สภาพทางสังคม
การศึกษา
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ ๑๕ – ๖๐ ปีเต็ม ร้อยละ ๙๙ อ่าน เขียนภาษไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้ เด็กอายุ ๖ – ๑๔ ปี ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ ๙๙ ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปัญหาคือ ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้ การแก้ปัญหาของเทศบาล ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสนับสนุนอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน ในหับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่ และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ กับทางโรงเรียน
การศึกษา ข้อมูล ณ ปัจจุบัน
สังกัด |
สพฐ. |
เทศบาล ตำบลนาหนองไผ่ |
๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนาหนองไผ่ ๑.๑ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทรงาม - จำนวนครูผู้ดูแลเด็ก - จำนวนผู้ดูแลเด็ก - จำนวนนักเรียน ๑.๒ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านยางบ่อภิรมย์ - จำนวนครูผู้ดูแลเด็ก - จำนวนผู้ดูแลเด็ก - จำนวนนักเรียน ๑.๓ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกระเบื้อง - จำนวนครูผู้ดูแลเด็ก - จำนวนผู้ดูแลเด็ก - จำนวนนักเรียน ๑.๔ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทิพย์นวด - จำนวนครูผู้ดูแลเด็ก - จำนวนผู้ดูแลเด็ก - จำนวนนักเรียน ๒. โรงเรียนสังกัด สพฐ. ในพื้นที่เทศบาล ๒.๑ โรงเรียนบ้านดู่นาหนองไผ่ ระดับก่อนประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ระดับประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ระดับมัธยมต้น - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ๒.๒ โรงเรียนบ้านยางบ่อภิรมย์ ระดับก่อนประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ระดับประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ระดับมัธยมต้น - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ๒.๓ โรงเรียนบ้านทิพย์นวด ระดับก่อนประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ระดับประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ระดับมัธยมต้น - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ๒.๔ โรงเรียนบ้านกระเบื้อง ระดับก่อนประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ระดับประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน
๒.๕ โรงเรียนบ้านกระสัง ระดับก่อนประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ระดับประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ๒.๖ โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง ระดับก่อนประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน ระดับประถมศึกษา - จำนวนครู - จำนวนห้องเรียน - จำนวนนักเรียน |
๖ แห่ง
๑ คน ๒ ห้อง ๓๔ คน
๖ คน ๖ คน ๑๒๒ คน
๗ คน ๓ คน ๗๗ คน
๒ คน ๒ คน ๒๕ คน
๘ คน ๖ คน ๙๓ คน
๔ คน ๓ คน ๕๒ คน
๒ คน ๒ คน ๒๙ คน
ู๖ คน ๖ คน ๑๑๖ คน
๕ คน ๓ คน ๓๔ คน
๒ คน ๒ คน ๓๑ คน
๖ คน ๖ คน ๑๐๑ คน
๑ คน ๒ คน ๑๒ คน
๖ คน ๖ คน ๖๕ คน
๑ คน ๒ คน ๒๓ คน
๖ คน ๖ คน ๘๙ คน |
๔ แห่ง
๑ คน ๓ คน ๒๗ คน
๑ คน ๓ คน ๓๘ คน
๑- คน ๔ คน ๔๓ คน
๑ คน ๒ คน ๒๔ คน
|
สาธารณสุข
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา ( COVID 19) และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี การแก้ไขปัญหา คือ เทศบาลและหน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาล ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี สำหรับเด็กแรกเกิด - ๖ ปี ผู้ปกครองสามารถเลี้ยงดูตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีเพียง ๑ ราย เท่านั้น ดีไม่ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนไม่ได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายยังไม่สม่ำเสมอ และประชากรส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้เทศบาลพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับโรงพยาบาล สาธารณสุข จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา
(๑) หน่วยงานด้านสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน ๒ แห่ง
เตียงคนไข้ จำนวน - เตียง
- ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน ๑ แห่ง
- คลินิกเอกชน จำนวน - แห่ง
(๒) สถานการณ์/ปัญหาสุขภาพ
๒.๑ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหนองไผ่
ลำดับที่ |
โรค ที่ต้องเฝ้าระวังทางด้านระบาดวิทยา |
ผู้ป่วย (ราย) |
ผู้เสียชีวิต (ราย) |
๑ |
โรคอุจจาระร่วง |
๓๗ |
- |
๒ |
โรคระบบทางเดินอาหาร อาหารเป็นพิษ |
๗ |
- |
๓ |
โรคไข้เลือดออก |
- |
- |
๔ |
โรคปอดบวม |
๔ |
- |
๕ |
โรคตาแดง |
- |
- |
๖ |
โรคคางทูม |
- |
- |
๗ |
โรคสงสัยหูดับ |
- |
- |
๘ |
โรคหนองใน |
- |
- |
๙ |
โรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ |
- |
- |
๑๐ |
โรคมือเท้าปาก |
๑ |
- |
๑๑ |
โรคอีสุกอีใส |
- |
- |
๑๒ |
โรคโควิค-๑๙ |
๗๙ |
1 |
๑๓ |
โรคไข้หวัดใหญ่ |
- |
- |
๒.๒ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกระเบื้องเมืองใหม่
ลำดับที่ |
โรค ที่ต้องเฝ้าระวังทางด้านระบาดวิทยา |
ผู้ป่วย (ราย) |
ผู้เสียชีวิต (ราย) |
๑ |
โรคอุจจาระร่วง |
๓๘ |
- |
๒ |
โรคระบบทางเดินอาหาร อาหารเป็นพิษ |
- |
- |
๓ |
โรคไข้เลือดออก |
๒ |
- |
๔ |
โรคปอดบวม |
- |
- |
๕ |
โรคตาแดง |
๒ |
- |
๖ |
โรคคางทูม |
- |
- |
๗ |
โรคสงสัยหูดับ |
- |
- |
๘ |
โรคหนองใน |
- |
- |
๙ |
โรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ |
- |
- |
๑๐ |
โรคมือเท้าปาก |
๑ |
- |
๑๑ |
โรคอีสุกอีใส |
๑ |
- |
๑๒ |
โรคโควิค-๑๙ |
๑๐๑ |
- |
๑๓ |
โรคไข้หวัดใหญ่ |
๑ |
- |
อาชญากรรม
เทศบาลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน ซึ่งเทศบาลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาของเทศบาลที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด คือ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ปัญหาคือจากข้อมูลที่สำรวจพบว่ามี ๔ ครัวเรือน ที่ไม่มีการป้องกันอุบัติ อาชญากรรม วิธีการแก้ปัญหาของเทศบาลที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะ
แก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางเทศบาลจะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไปตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้
ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรอำเภอชุมพลบุรีได้แจ้งให้กับเทศบาลทราบนั้นพบว่าในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
ตามที่เทศบาลตำบลนาหนองไผ่ ได้ดำเนินโครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในเขตเทศบาลตำบลนาหนองไผ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕61 เพื่อนำผลการสำรวจมาพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้แก่ชุมชน ผลการสำรวจพบว่าประชาชนในเขตเทศบาลพบว่า ประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๗๕๔ คน ดื่มสุรา ๗๗๑ คน
การสังคมสังเคราะห์
เทศบาลได้ดำเนินการด้านสังคมสังเคราะห์ ดังนี้
(๑) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
๔. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง