
๖. ระบบเศรษฐกิจ
๖.๑ การเกษตร
ประชากรในเขตเทศบาล ร้อยละ ๗๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ดังนี้
- อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ ๗๐ ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ ๑0 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 16 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพค้าขาย ร้อยละ 4 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
๖.๒ การประมง
(ในเขตเทศบาลไม่มีการประมง)
๖.๓ การปศุศัตว์
- เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ จำนวนสัตว์ในพื้นที่โดยประมาณ ดังนี้
โค ๔๕๕ ตัว กระบือ ๑๒๕ ตัว สุกร ๖๐ ตัว
เป็ด ๕๒๑ ตัว ไก่ ๑๑๕ ตัว อื่นๆ ๘๑๕ ตัว
๖.๔ การบริการ
ร้านอาหาร ๔ แห่ง
ร้านเกมส์ ๓ แห่ง
๖.๕ การท่องเที่ยว
ในเขตเทศบาลไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ เทศกาลงานปลาไหลข้าวใหม่หอมมะลิประจำปี
๖.๖ อุตสาหกรรม
- จำนวนกิจการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (โรงสีขนาดเล็ก) จำนวน 20 แห่ง
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
ธนาคาร - แห่ง สถานีบริการน้ำมัน 4 แห่ง
บริษัท - แห่ง ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า - แห่ง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 3 แห่ง ตลาดสด - แห่ง
ร้านค้าต่างๆ 138 แห่ง โรงฆ่าสัตว์ 1 แห่ง
ซุปเปอร์มาเก็ต 2 แห่ง โรงเลื่อยไม้ 1 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
มีกลุ่มอาชีพ จำนวน 5 กลุ่ม
๑. กลุ่มผลิตปุ๋ยอัดเม็ดบ้านบ่อแก
๒. กลุ่มร้านค้าชุมชนบ้านไทรงาม
3.กลุ่มทอผ้าไหมบ้านไทรงาม
4.กลุ่มตุ๊กตาไหมพรหมบ้านกระสัง
5.กลุ่มวิสาหกิจชุมชน(โรงสีข้าวบ้านโนนม่วย)
๖.๘ แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ ๑๕ – ๖๐ ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ ๙๕ เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ ๗๓.๙๙ ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง ๒๕ – ๕๐ ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้